Digital Transformation

การเปลี่ยนแปลงองค์กรไปสู่องค์กรดิจิทัล

ทำไมต้องทำการเปลี่ยนแปลงองค์กรไปสู่องค์กรดิจิทัล

เป็นที่ชัดเจนว่า เรากำลังเผชิญกับการใช้ชีวิต การทำธุรกิจบนโลกมีลักษณะผันผวน ไม่แน่นอน สลับซับซ้อน และกำกวม หรือที่เรียกว่า VUCA(Volatility, Uncertainty, Complexity และ Ambiguity) อันเนื่องจากผลกระทบจากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีรากเหง้ามาจากเทคโนลีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT: Information and Communication Technology)

VUCA

เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นหนึ่งในสามเทคโนโลยีสู่ยุคอนาคต ที่รวมถึงเทคโนโลยีชีวภาพ และเทคโนโลยีนาโน ซึ่งคือยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (4th Industrial Revolution) ที่เกิดการเชื่อมต่อระหว่างคนกับคอมพิวเตอร์อย่างไร้รอยต่อ (Seamless Interaction) อันนำไปสู่จักรวาลนฤมิต หรือ เมตาเวิร์ส (Metaverse)

Disruptive Technology

ซึ่งการประกาศตัวสู่เมตาเวิร์สของแพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่ของโลก อย่างเฟซบุ๊ค (Facebook) และอีกหลายองค์กรในเวลาต่อมาทำให้เข้าสู่ยุค VUCA+ ในทันที อันหมายถึงเพิ่มดีกรีความผันผวน ความไม่แน่นอนฯ ขึ้นไปอีก เนื่องจากโลกจริงกับโลกเสมือนมีลักษณะเชื่อมโยงแบบไร้รอยต่อกันและกัน ดังนั้นเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ เพื่อความสามารถในการแข่งขัน จึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงองค์กรไปสู่องค์กรดิจิทัลในหลากหลายมิติ รวมทั้งมิติทุนมนุษย์ (Human Capital) ที่ต้องได้รับการติดอาวุธใหม่ๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และต้องทำอย่างเร่งด่วน (Economy of Speed) รวมถึงผลกระทบอันเนื่องมาจาก Covid-19 ที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่องค์กรดิจิทัลสู่ยุค New Normal เกิดวิถีชีวิตรูปแบบใหม่ การทำงานรูปแบบใหม่ กระบวนการทำงานที่ลดขั้นตอน เพิ่มประสิทธิภาพ กฎหมายใหม่ ๆ พฤติกรรมผู้บริโภคแบบใหม่ๆ อาชญกรรมและภัยคุกคามใหม่ ๆ ผู้นำแบบใหม่ ๆ การกำกับดูแลที่ดีอย่างรู้เท่าทัน โมเดลธุรกิจที่ไม่เคยคาดคิด และวัฒนธรรมองค์กรที่ตอบโจทย์อนาคต

โมเดลการเปลี่ยนแปลงองค์กรไปสู่องค์กรดิจิทัลของเรา

โมเดลการเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่องค์กรดิจิทัลของเรา ใช้เครื่องมือที่เรียกว่า “7-factor Model” ซึ่งเกิดจากการทำวิจัยและการนำไปใช้จริงสั่งสมกันมา เป็น “Strategy Platform” สามารถนำไปใช้จริง เปลี่ยนแปลงองค์กรทั้งในระดับมหภาค (Macro) และระดับจุลภาค (Micro) 
โมเดลการเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่องค์กรดิจิทัลประกอบไปด้วย 7 มิติของการทำการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

  • Citizen/Customer Engagement: สร้างความผูกพันกับผู้เกี่ยวข้อง (Stakeholder) ขององค์กรด้วยเครื่องมือดิจิทัล หากเป็นธุรกิจก็คือลูกค้า หากเป็นหน่วยงานรัฐก็คือประชาชน รวมถึงผู้มีส่วนได้เสีย เครื่องมือดิจิทัล เช่น Social Listening, Digital Marketing, Influencer, Digital Branding, Digital Engagement, Crisis Management (น้ำดีไล่น้ำเสีย) เป็นต้น
  • Digital Leadership: ผู้นำยุคดิจิทัล ที่ต้องมีทักษะใหม่ๆ ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรู้เท่าทัน เช่น Foresighting, Digital Project Management, Change Management และ Design Thinking เป็นต้น
  • Process Transformation: การเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานด้วยเครื่องมือดิจิทัล ด้วยการวิเคราะห์ ออกแบบ และใช้งาน ด้วยเครื่องมือต่างๆ เช่น Swimming Lane, DOWNTIME เป็นต้น ทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ คุณภาพและราคา
  • New Business Modelling: โมเดลธุรกิจยุคดิจิทัล ที่ประกอบด้วย Business Model Canvas, Design Thinking, Don Tapscott’s New Business Models เป็นต้น
  • Digital Capability: ความสามารถขององค์กร ประกอบด้วยทักษะยุคดิจิทัล เช่น Digital Literacy, Digital Mindset รวมถึง Digital Culture และโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีที เช่น สถาปัตยกรรมองค์กร (EA: Enterprise Architecture), Technology Forecasting, Big Data, Blockchain, Metaverse (AR, VR, MR) เป็นต้น
  • Cybersecurity: ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ที่องค์กรจะต้องเตรียมความพร้อมให้พอเพียง ทั้งนโยบายการบริหารจัดการก่อน ระหว่าง และภายหลังจากภัยคุกคาม งบประมาณ รวมถึงเทคโนโลยีและบุคลากร เพื่อรับมือกับภัยคุกคามใหม่ๆ เช่น Ransomware ฯลฯ โดยเฉพาะองค์กรที่ถูกกำหนดเป็น Critical Information Infrastructure (CII) ตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ อาทิ ด้านการเงิน ด้านพลังงาน ด้านโทรคมนาคม ด้านการขนส่ง ด้านสาธารณูปโภค ด้านสาธารณสุข ด้านบริการภาครัฐที่สำคัญ เป็นต้น
  • Digital Laws and Regulations: กฎหมายและกฎระเบียบด้านดิจิทัล ซึ่งในปัจจุบันนี้มีความเร่งด่วนในการที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA: Personal Data Protection Act) ที่มีผลบังคับใชเต็มรูปแบบ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งองค์กรจะต้องเตรียมความพร้อมรองรับกฎหมายใหม่นี้ที่บทลงโทษรุนแรง ทั้งในระดับนโยบายและการนำไปปฏิบัติทั่วทั้งองค์กร (Implementation) อย่างไรก็ตาม ยังมีกฎหมายที่มีผลบังคับใช้ไปแล้ว และที่จะมีผลในอนาคต เช่น กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ กฎหมายสินทรัพย์ดิจิทัล กฎหมายแพลตฟอร์ม กฎหมายดิจิทัลไอดี ซึ่งจะส่งผลต่อการทำธุรกิจขององค์กรได้

บริการการเปลี่ยนแปลงองค์กรไปสู่ดิจิทัล

อบรมการปรับเปลี่ยนองค์กรไปสู่ดิจิทัล

เพื่อให้องค์กรมีความเข้าใจร่วมกันและสร้างความร่วมมือในการปรับเปลี่ยนองค์กรให้เป็นดิจิทัลเพื่อตอบสนองแรงกดดันจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี กฎหมาย และสังคม

อบรมและให้คำปรึกษาด้านการวางแผนทางการตลาดดิจิทัล

การสร้างความสามารถในการใช้เครื่องมือดิจิทัลในการพัฒนาธุรกิจหรือสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน

อบรมเชิงปฏิบัติการด้านการเปลี่ยนแปลงแนวคิดผู้นำองค์กรสู่ดิจิทัล

สร้างความเข้าใจ พัฒนาแนวคิด และมุมมองเชิงกลยุทธ์การปรับเปลี่ยนและใช้ประโยชน์ดิจิทัลของผู้นำองค์กรและผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันและปรับสมดุลย์องค์กร

ให้คำปรึกษาด้านการทำ PDPA

การสร้างความเข้าใจ การพัฒนาแนวทางในการสร้างระบบจัดการความปลอดภัยส่วนบุคคลตามกฎหมายคุ้มครองความปลอดภัยบุคคลที่มีผลบังคับใช้วันที่ 1 มิถุนายน 2565

ให้คำปรึกษาด้านการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของบุคคลากร

ประเมิน สร้างทักษะ ด้านการใช้และพัฒนาเครื่องมือดิจิทัลสำหรับการทำงานและการพาณิชย์

วิเคราะห์และออกแบบสถาปัตยกรรมด้านดิจิทัลแก่องค์กร

วิเคราะห์ ออกแบบ สถาปัตยกรรมดิจิทัลองค์กรเพื่อรองรับบริการดิจิทัล และลดค่าใช้จ่ายจากการลงทุนระบบซ้ำซ้อน และสร้างภาระงานแก่คนในองค์กร

วิเคราะห์ อบรม และให้คำปรึกษาด้านการพัฒนาธรรมาภิบาลข้อมูล

สร้างความเข้าใจ ออกแบบนโยบาย และนำเครื่องมือดิจิทัลมากำกับดูแลการใช้ประโยชน์และการเปิดเผยข้อมูลภายใน ระหว่างองค์กร และสาธารณะ

วิเคราะห์และให้คำปรึกษาด้านความปลอดภัยของข้อมูลและระบบสารสนเทศ

ประเมิน ตรวจสอบ ให้คำปรึกษา รับรองและอบรมด้านความปลอดภัยของระบบสารสนเทศและข้อมูล

วิเคราะห์ อบรม และให้คำปรึกษาด้านการปรับปรุงและกระบวนการดำเนินการองค์กรห้คำปรึกษาด้านแยกส่วนงานไปสู่การจัดตั้งบริษัทย่อย

ปรับปรุงกระบวนการ ให้เพิ่มประสิทธิภาพด้านเวลา ลดต้นทุนและความซับซ้อนของระบบงาน โดยเสริมเครื่องมือด้านดิจิทัล 

THAI MSME

Digital Transformation

Introduction

In today’s digitally-driven world, digital transformation has become a cornerstone for organizations seeking to enhance their competitiveness. For Thai Micro, Small, and Medium Enterprises (MSMEs), the effective management of digital information is crucial for accessing new markets, developing innovative products and services, and improving customer experiences. The global economic landscape increasingly emphasizes the use of digital data to boost productivity, reduce costs, and enhance product and service quality.

However, Thai MSMEs face several challenges, including limited access to technology and skilled personnel, as well as regulatory hurdles such as the Personal Data Protection Act (PDPA). This legislation mandates that businesses handle personal data securely and transparently, underscoring the importance of data privacy and security.

A website serves as the digital storefront for MSMEs, providing the initial point of contact for potential customers. It also establishes credibility, expands market reach, and enables businesses to operate fully online. A high-quality website capable of collecting and analyzing user data can inform effective marketing strategies.

In the digital economy, websites function as platforms that integrate with various technologies, including e-commerce, online payments, inventory management, and customer relationship management (CRM) systems. For Thai MSMEs, the ability to seamlessly integrate these systems can foster long-term growth and sustainability.

The Personal Data Protection Act (PDPA) mandates that businesses handle personal data securely and transparently. Adherence to this law not only mitigates legal risks but also builds customer trust. Implementing measures such as cookies consent and privacy notices is fundamental to PDPA compliance.

This project aims to support Thai MSMEs in achieving PDPA compliance through digital transformation. By partnering with Budget Web Pro (BWP) as a pilot service provider, we offer cost-effective website development services, including the necessary components for cookies consent and privacy notices. This enables MSMEs to confidently embark on their digital journeys.

Hands holding smartphone and credit card for easy online shopping. Perfect for ecommerce themes.

ADES & BWP website development with PDPA compliance services

Modern desk setup with neon lighting and a desktop computer displaying colorful images.

Objectives

  • Facilitate digital transformation for Thai MSMEs
  • Enhance the global competitiveness of Thai MSMEs through digital technology
  • Build customer trust and confidence in digital businesses
  • Assist MSMEs in complying with PDPA through cookies consent and privacy notices
  • Reduce costs and barriers for MSME website development
  • Provide high-quality, affordable website services through partners like BWP
  • Foster sustainability in the digital economy
  • Encourage MSMEs to utilize websites for business expansion and adaptation to technological advancements

Scope of Cooperation

  • Website Development: BWP will provide cost-effective website design and development services, including:
  • Cookies Consent and Privacy Notices: BWP will provide the necessary system (plug-in), and the association will design/review the content to ensure compliance with specific businesses and websites.

Expected Outcomes

  • Successful digital transformation for Thai MSMEs, enhancing their competitiveness
  • Reduced barriers to PDPA compliance for MSMEs
  • Increased customer trust in the digital businesses of Thai MSMEs
  • Promotion of the digital economy and sustainable development in Thailand
กรอกแบบฟอร์ม

ขอคำปรึกษา ฟรี!