7-Factor model: a Strategy Platform for Digital Transformation

BY DR. ARNON TUBTIANG

7-Factor model: a Strategy Platform for Digital Transformation

ปัจจุบันโลกกำลังเข้าสู่ยุคดิจิทัลด้วยความเร่ง การเติบโตอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี iABCDE (Internet of Things, Artificial Intelligence, Blockchain, Cloud/Cybersecurity, big Data และ E-Commerce) รวมถึงสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ซึ่งจากรายงานล่าสุดเดือนมกราคม 2563 ที่ผ่านมาพบว่าเฟซบุ๊กมีจำนวนผู้ใช้ที่แอคทีฟจำนวน 2,455 ล้านบัญชี พร้อมกันนี้โลกกำลังเข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (4IR: 4th Industrial Revolution) ที่การเชื่อมโยงระหว่างมนุษย์และไซเบอร์เป็นแบบไร้รอยต่อ ตัวอย่างคือ AR (Augmented Reality) และ MR (Mixed Reality) ด้วย Hololens

GMI: บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (KMUTT) ได้ทำการวิจัยและพัฒนา 7-Factor Model เพื่อเป็นกรอบแนวคิดหรือแพลตฟอร์มในการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ยุคดิจิทัลในระดับยุทธศาสตร์ ประกอบไปด้วย 7 มิติ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1.  Citizen Engagement : การสร้างการมีส่วนร่วมและการเข้าถึงของประชาชน ด้วยการใช้เครื่องมือใหม่ ๆ ยุคดิจิทัล เช่น การตลาดดิจิทัล (Digital Marketing) อาทิ Influencer Marketing/SEM (Search Engine Management), Content Marketing, Digital Branding, Chatbots เป็นต้น ทำให้ประชาชนติดต่อภาครัฐได้ทุกที่ ทุกเวลา เพิ่มความพึงพอใจต่อรัฐ อีกทั้งรัฐสามารถเข้าถึงประชาชนได้เหมาะสม ตามกลุ่มที่แตกต่าง

2. Digital Leadership : ผู้นำยุคดิจิทัล ทั้งนี้ผู้นำมีความสำคัญมากต่อการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ดิจิทัล เนื่องจาก Digital Transformation มีลักษณะ Top-down Approach ผู้นำจึงต้องมีความตระหนักและความเข้าใจในการบริหารยุคดิจิทัล ต้องมีทักษะ Foresight ที่มองอนาคตซึ่งมีความไม่แน่นอนมากขึ้นให้ออก ต้องมีทักษะการบริหารโครงการ (Project Management) และทักษะการบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management) นอกจากนั้นระบบการนำต้องแสดงให้เห็นทิศทางการบริหารยุคดิจิทัล เช่น การมี Digital Transformation Strategy, CIO บทบาทใหม่ เป็นต้น

3. Process Transformation :  การปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน โดยอาจเริ่มจากการคิดแบบลีน (Lean Process) เพื่อให้เป็นองค์กรที่คล่องตัว ลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น แล้วอาจเริ่มทำการ "Digitization" ต่อจากนั้นปรับเปลี่ยนกระบวนการต่าง ๆ ในองค์การโดยใช้ดิจิทัล “Digitalization”

4. New Business Modeling : การคิดเชิงนวัตกรรม โมเดลธุรกิจใหม่ โมเดลใหม่ๆในการทำงาน หรือปรับปรุงโมเดลเดิมด้วยดิจิทัล ทั้งนี้ควรต้องใช้เครื่องมือต่อไปนี้ประกอบ อาทิ 1) Design Thinking 2) Business Model Canvas หรือ 3) New Business Models ของ Don Tapscott ในหนังสือ Digital Economy และ หนังสือ Blockchain Revolution เป็นต้น

5. Digital Capability : ความสามารถทางดิจิทัลขององค์กร ประกอบด้วย 2 ประเด็นสำคัญคือ

1) Digital Skill Sets : เป็นประเด็นสำคัญมากของบุคลากรที่จะต้องมีทักษะต่าง ๆ ที่จำเป็นสอดคล้องกับการพัฒนาองค์กรระดับต่างๆ โดยเริ่มจากระดับเริ่มต้น (Early) สู่ระดับกำลังพัฒนา (Developing) และในที่สุดสู่ระดับก้าวหน้า (Mature) ทักษะต่าง ๆ อาทิเช่น Digital Literacy/Digital Governance/Digital Transformation/ Cybersecurity และ Digital Culture เป็นต้น

2) Digital Platform : ระบบ IT ของหน่วยงานรวมเทคโนโลยี เช่น Hardware/Software/Application/Big Data/Internet/4G/5G/Optical Fiber เป็นต้น ซึ่งควรต้องมีการวางแผน และเป้าหมายก่อนติดตั้งระบบต่าง ๆ   ดังนั้นองค์กรจะต้องมีการวางพิมพ์เขียวก่อนด้วย Enterprise Architecture (EA)

6. Cybersecurity : ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เมื่อรัฐกำลังมุ่งสู่รัฐบาลดิจิทัล (Digital Government) กำลังย้ายข้อมูลจาก Physic และ Analog ไปสู่รูปแบบดิจิทัลมากขึ้น หมายถึงการเพิ่มความไว้วางใจ (Confidentiality) ข้อมูลที่เป็นส่วนตัว ข้อมูลส่วนหน่วยงาน ที่เรียกว่ามีความเป็นส่วนตัว (Privacy) ของหน่วยงานไปบนระบบกลาง บางครั้งอยู่บนคลาวด์ (Cloud) เพราะฉะนั้นจะต้องสร้างหรือมั่นใจว่าระบบจะมีความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์สูง ๆ ป้องกันการโจรกรรมข้อมูล หรือการทำลายระบบ อันจะส่งผลให้เกิดการล่ม (Shut-down) ของบริการของรัฐที่สำคัญต่อประชาชนได้ อาทิ ระบบพลังงาน ระบบการเงินการธนาคาร ระบบโทรคมนาคม ระบบสาธารณสุข เป็นต้น 

7. Laws and Regulations : กฎหมาย กฎระเบียบใหม่ๆ ด้านดิจิทัล ซึ่งจะมากขึ้นและมากขึ้น ล่าสุดเมื่อปลายเดือนพฤษภาคม 2562 มีพระราชบัญญัติสำคัญ 2 ฉบับคือ พระราชบัญญัติความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล   นอกจากนั้นยังมีการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายฉบับ อาทิ   พระราชบัญญัติธุรกรรมทางอิเลคทรอนิคส์ พระราชบัญญัติอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ที่จะกำกับดูแลเหตุการณ์ใหม่ ๆ ทางดิจิทัล เช่น สังคมไร้เงินสด การจัดการข่าวปลอม (Fake News) เป็นต้น รวมถึงกฎระเบียบที่เกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญ ๆ ล่าสุดของโลก เช่น การเก็บภาษีดิจิทัล (Digital Tax) จากบริษัทยักษ์ใหญ่เทคโนโลยี Amazon Apple  Google  Netflix ฯลฯ ซึ่งหน่วยงานราชการต่าง ๆ จะต้องเตรียมรับให้พร้อมไม่ว่าจะเป็นโอกาส (Opportunity) หรือ ภัยคุกคาม (Threat) ก็ตาม

สาขาวิชาการจัดการธุรกิจดิจิทัล บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม (GMI) เป็น Management School ที่รับผิดชอบด้านการจัดการ การสร้างนวัตกรรม (Innovation Mindset) การนำนวัตกรรมไปใช้จริง (Commercialization) การจัดการด้านดิจิทัล ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (KMUTT) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย วิศวกรรม และเทคโนโลยี ที่เรียกกันว่าด้าน STEM (Science, Technology, Engineering, Mathematics) โดยได้รับการจัดลำดับเป็นมหาวิทยาลัยลำดับที่ 1 ของประเทศด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยี โดย Times Higher Education (THE) ของสหราชอาณาจักรเมื่อปี พ.ศ.2562


อนึ่ง ยุคปัจจุบันเป็นยุคดิจิทัลเปลี่ยนโลก (Digital Disruption) การจัดการด้านดิจิทัลที่ต้องมีพื้นฐานจากความแข็งแกร่งด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง เครื่องมือและศาสตร์ใหม่ๆ ด้านการจัดการดิจิทัลในโลกที่เกิดขึ้นล่าสุดนั้นพัฒนามาจากบริษัทด้านเทคโนโลยีเป็นส่วนใหญ่ เช่น Google Facebook Alibaba Tencent Apple Netflix เป็นต้น


เผยแพร่ 15 ตุลาคม 2564