Blockchain Technology in Electrical Industry

BY DR. TANYA SATTAYA-APHITAN

เทคโนโลยี Blockchain ในอุตสาหกรรมไฟฟ้า

Basic

ก่อนอื่นถ้ายังใหม่กับ Technology Blockchain ขอให้ลองไปอ่านบทความ ความรู้เรื่อง Blockchain ด้านบนก่อนนะครับ หรือเอาแบบสั้น ๆ นั้นคือ blockchain คือการเก็บข้อมูลเป็นแบบกระจาย (Distributed) โดยตัดตัวกลางออก ดังนั้นการเก็บข้อมูลต้องมีองค์ประกอบเพื่อให้เกิดความเชื่อใจ (Trust) ซึ่งกันและกัน ดังนี้

  • ข้อมูลที่ถูกเก็บแต่ละที่ต้องเป็นหนึ่งเดียวหรือข้อมูลชุดเดียวกันทั้งหมด

  • ข้อมูลทุกการทำรายการสามารถตรวจสอบได้ ไม่สามารถแก้ไขได้ และใช้ซ้ำไม่ได้

  • ระบบการเก็บข้อมูลต้องสามารถใช้ได้ตลอดเวลา ระบบไม่มีวันล่ม

และนี่ก็คือคุณสมบัติเด่น ๆ ของ blockchain


Blockchain ในอุตสาหกรรมไฟฟ้า

การประยุกต์ใช้ Blockchain ในอุตสาหกรรมไฟฟ้าขอยกตัวอย่างเป็นด้าน ๆ ดังนี้

1. การซื้อ - ขาย — ในประเทศออสเตรเลีย บ. Power Ledger สร้าง platform ให้ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ติดตั้ง Solar Cell และมีไฟฟ้าเหลือใช้สามารถ “ขายให้เพื่อนบ้าน” ได้โดยตรง (Peer to Peer) ซึ่งจากเดิมต้องขายคืนให้กับโรงงานไฟฟ้า โดยสามารถทำให้ผู้ขายขายได้ในราคาที่สูงกว่าเดิมและผู้ซื้อก็ได้ซื้อในราคาที่ต่ำกว่าเดิม (อ้างอิง [1]) และปัจจุบัน บ. Power Ledger ได้มาทำการร่วมมือกับบริษัท BCPG (บางจาก) ในประเทศไทย เพื่อพัฒนารูปแบบ microgrid ตามตึก/อพาร์ทเม้นท์/บ้าน ฯลฯ ซึ่งติด Solar Cell เพื่อผลิตไฟฟ้าขนาดย่อมและขายคืนให้ platform โดยโครงการนี้มีส่วนช่วยรัฐบาลที่จะลดเงินลงทุนในการสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่อีกด้วย (อ้างอิง [2])

2. การประมูล — ในประเทศอเมริกา บ. LO3 Energy เริ่มทดลองนำไฟฟ้ามา “ประมูล” ระหว่างกันในสมาชิกแต่ละบ้านที่ใช้ระบบ microgrid (ผลิตไฟฟ้าเองได้) โดยไม่ต้องผ่านคนกลาง และระบบยังสามารถคำนวณแบบซับซ้อน เช่น การคิดคาร์บอนเครดิตหรือการอุดหนุนค่าพลังงานสะอาดตามมาเสริม (อ้างอิง [3])

4. การให้เช่า — บ. Slock.It ได้นำเปิด “ให้เช่า” ใช้เครื่องชาร์จรถยนตร์ไฟฟ้า (หรืออุปกรณ์ IoTs ต่าง ๆ) บนระบบ Ethereum Blockchain ผู้ต้องการใช้งานสามารถจ่ายเงินผ่านแอปแล้วจ่ายเงินตามจำนวนหน่วยไฟฟ้าที่ใช้จริงได้ (อ้างอิง [5])

3. การบริจาค — ในประเทศแอฟริกา บ. BankyMoon มีการติดตั้งการรับ “บริจาค” ค่าไฟฟ้า/น้ำของโรงเรียนผ่าน Crypto Currency ไปที่มิเตอร์โดยตรง โดยผู้บริจาคมั่นใจว่าถึงผู้รับแน่นอน (อ้างอิง [4])

4. การให้เช่า — บ. Slock.It ได้นำเปิด “ให้เช่า” ใช้เครื่องชาร์จรถยนตร์ไฟฟ้า (หรืออุปกรณ์ IoTs ต่าง ๆ) บนระบบ Ethereum Blockchain ผู้ต้องการใช้งานสามารถจ่ายเงินผ่านแอปแล้วจ่ายเงินตามจำนวนหน่วยไฟฟ้าที่ใช้จริงได้ (อ้างอิง [5])

5. ด้านสกุลเงิน/Trading — ผู้ที่ผลิตไฟฟ้าสามารถเปลี่ยนพลังงาน Solar Cell ที่เหลือใช้ไปเป็น SolarCoin (SLR) และสามารถนำ Trade ในตลาด Crypto Currency เพื่อแลกเปลี่ยนเป็นเงินสกุลอื่น ๆ ได้ เช่น Bitcoin/Ethereum รวมถึงนำไปแลกเปลี่ยนเป็นเงินจริงได้อีกด้วย (อ้างอิง [6]

6. ส่งท้ายด้วยรูปจาก Bloomberg แสดงการนำ blockchain ไปประยุกต์ใช้ในธุรกิจไฟฟ้าครับ (อ้างอิง [7])

สรุป

สุดท้าย การนำ technology blockchain ไปใช้นั้นก็ต้องให้เหมาะสมกับปัญหาที่จะนำไปแก้ไข โดยพิจารณาจากคุณสมบัติของ blockchain คือ (1) ไม่อาศัยคนกลาง และสร้างความเชื่อใจกันได้ผ่านรูปแบบการเก็บข้อมูลที่ (2) transaction ที่โปร่งใสตรวจสอบได้ (3) ไม่สามารถแก้ไข transaction ที่ทำไปแล้วได้ (4) ใช้ซ้ำไม่ได้เช่นเงินที่ถูกใช้ไปแล้ว ซึ่งในมุมมองของ Programmer นั้นการพัฒนา Program ที่ทำงานบนระบบ blockchain นั้นมี learning curve ค่อนข้างสูงเนื่องจากตัวภาษาเอง (i.e., Solidity) จนถึงเครื่องมือต่าง ๆ ในการพัฒนา (i.e., Remix) ยังไม่สุกงอมเต็มที่เหมือนกับภาษาอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ใครอยากเริ่มต้นศึกษาการเขียน Program blockchain หรือ DApp สามารถเริ่มต้นอย่างง่าย ๆ ได้จากบทความนี้ครับ -> บันทึกการอบรม Solidity เขียน Smart Contract บน Ethereum


อ้างอิง

[1] — Blockchain ระบบซื้อ-ขาย ไฟฟ้าโดยไม่ผ่านคนกลาง

[2] — Power Ledger เซ็นสัญญากับ BCPG เพื่อมาเปิดตลาดซื้อขายพลังงานหมุนเวียนได้ในประเทศไทย

[3] — Blockchain ไม่ใช่แค่เรื่องการเงิน แต่นำมาใช้ซื้อขายพลังงานไฟฟ้าได้ด้วย

[4] — กรณีศึกษา: Blockchain กับธุรกิจพลังงาน เมื่อวันที่ใครๆ ก็สามารถขายพลังงานไฟฟ้าให้กับเพื่อนบ้านได้

[5] — Slock.It ใช้ blockchain เพิ่มพลังให้ Internet of Things

[6] — จาก Bitcoin สู่ Solarcoin

[7] — https://www.bloomberg.com/news/articles/2016-09-12/bitcoin-technology-harnessed-to-push-electricity-revolution