ความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของไทย

Thailand and the 2022 IMD

World Digital Competitiveness Ranking

BY DR. ARNON TUBTIANG

โดย

ดร.อานนท์ ทับเที่ยง

ประธานสาขาการจัดการธุรกิจดิจิทัล

บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม

วันที่ 28 กันยายน 2565 สถาบันการจัดการนานาชาติ (IMD: International Institute of Management Development) ปล่อยรายงานการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโลก (World Digital Competitiveness) จำนวน 63 ประเทศ นำโดย เดนมาร์ก (1), สหรัฐอเมริกา (2) และ สวีเดน (3)

แล้วประเทศไทยอยู่ตรงไหน ?

• ประเทศไทยอันดับ 40 โลก

• ประเทศไทยร่วงลงไป 2 อันดับจากปีที่แล้ว 2021,

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังมีจุดเด่นและจุดด้อยในหลายๆมิติ ดังนี้

อันดับเด่นโลกของไทยในประเด็นย่อย

1) ประเทศไทยอันดับ 6 ของโลกด้าน Female Researchers

2) อันดับ 7 ด้าน Investment in Telecommunications

3) อันดับ 11 ด้าน Hi-Tech Export

4) อันดับ 11 ด้าน World Robot Distribution

5) อันดับ 14 ด้าน Internet Bandwidth Speed

6) อันดับ 14 ด้าน Attitudes Toward Globalization

7) อันดับ 15 ด้าน Communication Technology

อันดับด้อยโลกในประเด็นย่อย

1) อันดับ 57 ด้าน Government Cyber Security Capacity

2) อันดับ 57 ด้าน Tablet Possession

3) อันดับ 56 ด้าน Software Piracy

อันดับที่น่าสนใจในประเด็นย่อย

1) อันดับ 25 ด้าน Mobile Broadband Subscribers

2) อันดับ 27 ด้าน Wireless Broadband

3) อันดับ 39 ด้าน Smartphone Possession

4) อันดับ 40 ด้าน E-Participation

5) อันดับ 44 ด้าน Internet Users

6) อันดับ 49 ด้าน E-Government

7) อันดับ 50 ด้าน Internet Retailing

แล้วประเทศไทยอยู่ตรงไหนของ ASEAN

• ประเทศไทยเป็นอันดับ 3 ของ ASEAN

1) สิงคโปร์ อันดับ 1 และอันดับ 4 โลก ซึ่งเพิ่มขึ้น 1 อันดับจากปีก่อนหน้า

2) มาเลเซีย อันดับ 2 และอันดับ 31 โลก ซึ่งร่วงลง 4 อันดับจากปีก่อนหน้า

3) อินโดนีเซีย อันดับ 4 และอันดับ 51 โลก ดีขึ้น 2 อันดับ

4) ฟิลปปินส์ อันดับ 5 และอันดับ 56 โลก ดีขึ้น 2 อันดับ

สามารถสรุปได้ว่า

ประเทศที่ต้องการวาง Roadmap ไปสู่ประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลจะต้องให้ความสำคัญอย่างเท่าเทียมกันระหว่าง Talent, Training/Education, Scientific Concentration และ R&D ซึ่งสามารถจัดกลุ่มเป็น 3 กลุ่ม คือ Future Readiness, Knowledge and Technology ทั้งนี้ Cybersecurity เป็นแรงผลักดัน e-Participation ของประชาชนให้ใช้งานดิจิทัล และอีกนัยหนึ่งประเทศที่โดดเด่นด้านดิจิทัลส่งผลมาจากปัจจัยสำคัญๆ ดังต่อไปนี้คือ Digital Talent, Digital Regulation, Data Governance, Digital Attitudes, และ Availability of Capital

“ความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล” ต้องการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และความโปร่งใสของผู้เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกรณีของ Data ดังนั้นความสามารถด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของภาครัฐและกฎหมายคุ้มครองความเป็นส่วนตัว จึงถูกกำหนดเป็นตัวชี้วัดใหม่ในปีนี้

• ประเทศที่ได้รับอันดับต้นๆ ให้ความสำคัญ Cybersecurity ระดับ Top Priority รวมถึง Future Readiness ซึ่งประเทศไทยได้รับอันดับที่ลดลง

1) Cybersecurity อันดับ 38 จาก 29

2) Future Readiness อันดับ 49 จาก 44

3) Government Cyber Security Capacity ซึ่งวัดเป็นปีแรก ได้อันดับ 57



-เผยแพร่ 11 ตุลาคม 2565-